วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศูนย์แอริค (Eric Chumphonwit) โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ สพมเขต33 ขอเรียนเชิญครูภาษาอังกฤษ(สหวิทยาเขต 5,6) 23 โรงเรียน จำนวน 40-50 คน  ในพื้นที่บริการ เข้าประชุมเชิงปฏิบัติการ Professional Learning Community (PLC)ในวันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องโสตฯโรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ 

โปรดกรุณาตรวจสอบหนังสือเชิญพร้อมศึกษารายละเอียด กับ e-office โรงเรียนของท่าน มีคำถาม ส่ง message ที่ facebook คุณครูเยาวภา ลอยทะเล ได้เลยค่ะ  หรือเบอร์โทร อ.ดวงใจ อินทชัย ค่ะ เรารู้จักกันมานาน

หมายเหตุ  :  เนื่องจากการไฟฟ้าหน่วยย่อยอำเภอชุมพลบุรี  จะทำการดับไฟฟ้าในวันที่ 1,3,5 กรกฏาคม 2558  
                   ผู้จัดจึงย้ายสถานที่จากห้องโสตฯโรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ ไปเป็นร้านอาหารพูนวิไล อำเภอชุมพลบุรี  
                   จังหวัดสุรินทร์ค่ะ  ห่างออกไปทางทิศใต้ 3.5 กม.จากสามแยกเยื้องการไฟฟ้าหน่วยย่อยชุมพลบุรีค่ะ  


แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

Creating a Professional Learning Community at Work: Foundational Concepts and Practices
Professional Learning Communities: A Focus on Student Learning
Professional Learning Communities (PLC) in Bethel School District
PLC (Professional Learning Communities)
PLC- Professional Learning Community Implementation
Connecting Teacher Collaboration to Classroom Practice
Professional Learning Communities
Bowie Elementary's Professional Learning Community
About Professional Learning Communities
Franklin School's PLC

ตัวอย่างการประชุม PLC
Seven Hills Elementary School PLC Meeting
PLC meeting at Swegle Elementary School, Salem, Ore


PLC ปฏิรูปการเรียนรู้ครูและเด็ก

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

British Council เริ่มมีมนต์ขลัง ศธ.เล็งจัดทดสอบภาษาอังกฤษเด็กไทย

ศธ.เล็งดึงบริติช เคานซิลจัดทดสอบภาษาอังกฤษเด็กไทย

ศธ.เล็งดึง บริติช เคานซิล จัดทดสอบวัดมาตรฐานภาษาอังกฤษเด็กไทยทั่วประเทศ ตั้งเป้าวัดในระดับมัธยม-สายอาชีพ “กำจร” ย้ำเน้นจัดทดสอบที่ประหยัดเงิน และหาทางต่อยอดให้นำผลทดสอบไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น เข้าทำงาน เรียนในมหา’ลัย คาดหากจัดสอบมีคนสมัครใจร่วม 2 แสนคน
     
       วันนี้ (8 มิ.ย.) รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนได้เดินทางเข้าร่วมประชุม Going Global 2015 ที่สหราชอาณาจักร โดยได้ไปดูการจัดการศึกษาด้วยภาษาอังกฤษ ซึ่งพบว่าหลายประเทศกำลังดำเนินการเช่นเดียวกับประเทศไทยที่ให้มีการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษในระดับอุดมศึกษา อาทิ ประเทศบราซิล ประเทศรัสเซีย ฯลฯ แต่ก็ประสบประสบปัญหาเหมือนกันว่าครูผู้สอนไม่มีความถนัดการสอนด้วยภาษาอังกฤษ แม้แต่ประเทศบราซิล ประเทศรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของประเทศไทยตนได้แจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ว่าควรเริ่มต้นโดยเฉพาะกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยทั้ง 9 แห่ง เนื่องจากในการนำเสนองานวิจัยก็ต้องเสนอด้วยภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ก็น่าจะเป็นไปได้ที่จะค่อยๆปรับการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน เชื่อว่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กและเยาชนทุกคนตื่นตัวและสนใจภาษาอังกฤษมากขึ้น เพราะถ้าหากอยากจะเรียนต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำแต่ไม่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษก็จะเรียนไม่รู้เรื่อง
     
       ศธ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ตนได้ไปเยี่ยมที่บริติช เคานซิล ที่ประเทศอังกฤษและได้สอบถามเกี่ยวกับการจัดทดสอบภาษาอังกฤษที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการหารือเพื่อให้ทางบริติชฯ เข้ามาเป็นผู้ดำเนินการจัดทดสอบให้ เบื้องต้นจะทดสอบนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวมถึงเด็กที่เรียนในสายอาชีวศึกษาทั่วประเทศ เนื่องจากการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นใช้หลักสูตรเดียวกันต่อเนื่อง ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยน ทำให้การวัดมาตรฐานระดับประเทศจะเห็นภาพได้ชัด แต่หากเป็นในระดับอุดมศึกษาความรู้ต่างๆจะเปลี่ยนแปลงไปตามคณะ/สาขาวิชาที่เลือกเรียนการจะวัดมาตรฐานทั้งประเทศทำได้ยาก
     
       “หากจัดทดสอบทั่วประเทศต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงเสนอทางบริติชฯ ว่าในระยะแรกอาจต้องร่วมลงทุนกันระหว่างบริติชฯและรัฐบาลไทย ขณะเดียวกัน ก็จะพิจารณาให้มีการใช้ประโยชน์จากการทดสอบดังกล่าวด้วย อาทิ ผู้ที่ผ่านการทดสอบมีใบรับรอง ก็ให้ใช้ประกอบการพิจารณาเข้าทำงานในสถานประกอบการได้ หรือนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนระดับอุดมศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เวลานี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมและพิจารณารายละเอียดต่างๆ รวมถึงงบประมาณดำเนินการ ซึ่งหากจัดทดสอบคาดว่าจะมีเด็กที่สมัครใจร่วมทดสอบประมาณ 2 แสนคน ขณะเดียวกันถ้าหลายฝ่ายเห็นประโยชน์ของการทดสอบดังกล่าวก็จะช่วยผลักดันให้เด็กมัธยมสนใจเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น และถึงเวลานั้นทุกฝ่ายต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายโดยเน้นให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เราต้องเน้นเรื่องภาษาอังกฤษเพราะมีความสำคัญมากต่อการสื่อสารทั่วโลก การทำงานในอนาคตและเวลานี้หลายประเทศก็ขับเคลื่อนกันไปหมดแล้ว”รศ.นพ.กำจร กล่าว

******************************************************
ดีเหมือนกัน  เราให้เด็กสอบกระดาษมานานแล้วเกินไปแล้วล่ะ
ให้สอบทุกทักษะ จะได้ fair ๆ กันไป

ขอบคุณที่มา(link ข้างบน)ค่ะ

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประเมินความสามารถครูภาษาอังกฤษ ปี 2558 สพม.เขต 33 จังหวัดสุรินทร์

หนังสือราชการระบุว่าให้นำหูฟังไปด้วย  ว่างั้น
ประเมินครูภาษาอังกฤษทั้งปท.เป็นครั้งแรกของไทย/ใช้ข้อสอบมาตรฐานยุโรปวัดผล 6 ระดับ   ข่าวทั้งหมด
 3 มีนาคม 2558

    
          ศึกษาธิการ * สพฐ.เตรียมประเมินครูภาษาอังกฤษกว่า 4 หมื่นรายทั่วประเทศเป็นครั้งแรก เริ่มช่วงปิดเทอมนี้ เพื่อเตรียมตัวเปิดเออีซี ใช้ข้อสอบของยุโรป หรือ CEFR วัดผล 6 ระดับ หลังจากนั้นวิเคราะห์เป็นรายบุคคลเพื่อแก้ไขจุดอ่อน-จุดแข็ง
          นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ในช่วงปิดระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน หรือปิดเทอมภาคฤดูร้อนนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมจัดประเมินครูภาษาอังกฤษในสังกัดทั่วประเทศจำนวน 46,682 คน และการประเมินครูประจำวิชาในครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยการประเมินดังกล่าวใช้งบประมาณทั้งสิ้น 23,465,440 บาท และเมื่อประเมินแล้วเสร็จก็จะมีการนำผลการประเมินมาใช้ในการจัดแผนอบรมพัฒนาครูภาษาอังกฤษให้เหมาะสม การประเมินครูครั้งนี้จะใช้แบบทดสอบ CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) หรือมาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษา ซึ่งได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐานสำหรับการจัดลำดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของแต่ละบุคคล โดยจัดลำดับความสามารถออกเป็น 6 ระดับ อย่างไรก็ตาม การทดสอบดังกล่าวจะเป็นการสอบแบบออนไลน์ โดยครูภาษาอังกฤษสามารถเข้าไปทำข้อสอบผ่านคอมพิวเตอร์ได้ จากนั้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่งจะรวบรวมคะแนนสอบมาให้ สพฐ.
          "การประเมินครูภาษาอังกฤษนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งการจะยกระดับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้นั้นจำเป็นต้องพัฒนาทักษะของครูก่อน เมื่อเสร็จสิ้นการประเมินแล้ว สถาบันภาษาอังกฤษจะรวบรวมข้อมูลการประเมิน จัดทำข้อมูลครูเป็นรายบุคคล เพื่อใช้วางแผนพัฒนาครูแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสม ดูว่าครูมีจุดอ่อนในเรื่องใด ก็ไปจัดอบรมเติมเต็มในเรื่องนั้นให้ เลิกระบบการพัฒนาแบบหว่านซึ่งไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร เพื่อใช้พัฒนาครูในลำดับต่อไป ทั้งนี้ การให้ครูภาษาอังกฤษทุกคนเข้ารับการประเมินนั้น จะทำให้เรารู้ว่าครูที่มีอยู่นั้นมีทักษะความสามารถในระดับใดบ้าง ที่ผ่านมาเราจะไม่รู้เลย เพราะไม่ได้มีการประเมินครูครั้งใหญ่มานานแล้ว" เลขาฯ กพฐ.กล่าว
          นายกมลกล่าวต่อว่า ทั้งนี้ การทดสอบ CEFR มีค่าใช้จ่ายหัวละ 350 บาท ซึ่ง สพฐ.ได้เตรียมจัดสรรงบประมาณให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) จำนวน 183 เขต เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประเมินครู 33,811 คน รวมทั้งสิ้น 11,833,850 บาท และจัดสรรงบประมาณให้ สพป.เขตละ 25,000 บาท ใช้จ่ายเป็นค่าบริหารจัดการสอบของศูนย์ประเมินทั้ง 183 ศูนย์ รวมทั้งสิ้น 4,575,000 บาท ส่วนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ทั้ง 42 เขต จะได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการประเมินครูจำนวนทั้งสิ้น 12,871 คน รวมเป็นเงิน 4,504,850 บาท และจัดสรรงบประมณให้ สพม.ทุกเขต เขตละ 25,000 บาท เพื่อใช้จ่ายเป็นค่าบริหารจัดการสอบของศูนย์ประเมินจำนวน 102 ศูนย์ รวมเป็นเงิน 2,325,000 บาท และจัดสรรงบ 226,740 บาท ให้ สพม.ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 เขต จัดประชุมชี้แจงการประเมินดังกล่าว.--จบ--

          ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์