วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 422/2556 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระยะ 5 ปีของประเทศ

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเสวนาเพื่อประกาศและขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสู่การปฏิบัติ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยมี ดร.อ่องจิต เมธยะประภาส รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และครูสอนภาษาอังกฤษ เข้าร่วมการเสวนากว่า 120 คน เมื่อวันเสาร์ที่ ธันวาคม 2556 ณ ห้องศาลาไทย ชั้น 3



ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์ ก า ร ป ฏิ รู ป ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น ภ า ษ า อั ง ก ฤ ษ
ระยะ 
ปี (พ.ศ.2556-2561)

1. ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน
- ปรับจากการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นไวยากรณ์ เป็นการสอนที่เน้นการสื่อสาร (Communicative Language Approach – CLA)
- เพิ่มกิจกรรมการอ่าน 
(Extensive Reading)
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่กระตุ้นความสนใจให้หลากหลาย

ออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับความพร้อมและความแตกต่างของโรงเรียน
2. พัฒนาครู
- ฝึกอบรมครู (Teaching Training) ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
- ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู 
(Professional Development – PD)
พัฒนาระบบติดตามช่วยเหลือ แก้ปัญหา และกลไกการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน (Coaching and Mentoring)

กำหนดมาตรฐานด้านภาษาอังกฤษ สำหรับใช้เป็นเกณฑ์กำหนดคุณสมบัติของครู
3. ส่งเสริมการใช้ ICT และพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
- ผลิต/สรรหา e-Content แบบโต้ตอบ (Interactive) ด้วยเนื้อหาแบบ Content-based เพื่อช่วยครูที่ไม่ได้จบเอกภาษาอังกฤษ
- ผลิต/สรรหา 
Learning App. แบบต่างๆ เช่น ฝึกออกเสียง บทสนทนาเรียนรู้ด้วยตนเอง
นเอง และบทสนทนาที่เรียนรู้เพื่ออาชีพ
- อบรมและส่งเสริมการใช้ 
ICT  ศึกษาวิธีการสอนและเนื้อหาต่างๆ จากเว็บไซต์
4. ขยายโครงการพิเศษ
- ขยายโครงการพิเศษต่างๆ ได้แก่ 1) English Program (EP), 2) Mini English Program (MEP),  3) International Program (IP) สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถทางวิชาการสูง 4) English Bilingual Education (EBE) ด้วยการสอนภาษาอังกฤษผ่านวิชาวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาและศิลปศึกษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 5) English for Integrated Studies (EIS) ด้วยการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
- พัฒนาห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ 
(Enrichment Class)
- พัฒนาห้องเรียนสนทนาภาษาอังกฤษ 
(Conversation Class)
- พัฒนาหลักสูตรและห้องเรียนภาษาอังกฤษแบบเข้มเพื่ออาชีพ สำหรับนักเรียนที่กำลังจะจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 
3
5. สอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษตามมาตรฐานสากล
- เทียบกรอบมาตรฐาน CEFR (Common European Framework of Reference)เพื่อวัดความรู้ความสามารถครูและนักเรียน
- บริการข้อสอบวัดความรู้รายเดือนสำหรับครูและนักเรียนทางเว็บไซต์
6. เพิ่มเวลาเรียน
- เพิ่มชั่วโมงเรียนจาก 40 ชม. เป็น 120 ชม.ต่อปี (ป.1-ม.3 และเพิ่มขึ้นในระดับ ม.ปลาย) ตามโครงสร้างเวลาของหลักสูตรที่จะออกใหม่
- ออกแบบการบ้านแบบสร้างสรรค์ให้นักเรียนทำนอกเวลา
- จัดค่ายภาษาอังกฤษแบบเข้ม ระยะเวลา 
2-สัปดาห์ (84-130 ชม.) ในช่วงปิดภาคเรียน
7. จัดกลไกขับเคลื่อนที่เข้มงวดและคอยช่วยเหลือสนับสนุน
- พัฒนา Teaching Mobile Unit ประจำศูนย์ PEER (Primary English Education Resource)
- พัฒนากลไกการพัฒนาวิชาการด้วยชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ 
(Professional Learning Community : PLC) อย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ2-3 ครั้ง
พัฒนาระบบ Coaching 
ประจำโรงเรียน เพื่อเป็นกลไกคอยช่วยเหลือครู ให้คำแนะนำ ติดตามสอดส่องปัญหา และนำการแก้ไข